วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

ประวัติความเป็นมาของเปียโน




ประวัติความเป็นมาของเปียโน

         เปียโนเป็นเครื่องดนตรีประเภท Keyboard มีลักษณะพิเศษเหนือกว่าเครื่อง ดนตรีอื่นใดเพราะเปียโนให้เสียงที่เป็นมาตรฐานจำนวน 88 เสียง ซึ่งมากที่สุดเมื่อ เทียบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ นอกจากนั้นยัง มีช่วงกว้างของเสียง (Range) มากกว่าเครื่อง ดนตรีอื่นๆ อีกด้วย กล่าวคือสามารถผลิตเสียง ที่มีระดับสูงมากและต่ำมากซึ่งเครื่องดนตรีชนิด อื่นไม่สามารถทำได้ ลักษณะพิเศษอีกประการ หนึ่งคือ สามารถใช้บรรเลงทั้งทำนอง (Melody) และเสียงประสาน (Harmony) ได้ในเวลา เดียวกันโดยมิต้องอาศัยเครื่องดนตรีอื่นๆ เล่น ประกอบ(Accompaniment) ตรงกันข้ามกับ เครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ที่ต้องอาศัยเปียโนเล่น ประกอบ เช่น Violin, Flute, Oboe, Bassoon, Trumpet ฯลฯ หรือแม้แต่เสียงร้อง ของมนุษย์ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ พิเศษมากแล้วก็ยังต้องอาศัยเปียโนเล่น ประกอบ เพื่อทำให้เสียงร้องนั้นเด่นชัดและ เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น เปียโนมีระบบกลไกทำงานภายในแบบ แบบเครื่องจักร ทุกอย่างเป็นฝีมือจากมนุษย์ เป็นผู้ผลิตขึ้นทั้งสิ้น ระบบและกลไกดังกล่าวนี้ จะเปิดเผยออกโดยทางความรู้เชิงช่าง เพื่อ ตอบข้อสงสัยหรือตอบคำถามต่างๆ เราจะ ศึกษาระบบกลไกการทำงาน ระบบเสียง การ ซ่อมแซม การปรับปรุงแก้ไขและอื่นในตัวเปียโน ก่อนที่จะดำเนินการทางเชิงช่างดังกล่าวควรจะ ศึกษาประวัติความเป็นมาของเปียโน เพื่อความ เข้าใจระบบการทำงานซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่ง ดังต่อไปนี้
          เปียโนเครื่องแรกที่มีกลไกการทำงานค่อน ข้างจะสมบูรณ์ สามารถผลิตเสียงเบาหรือดังได้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1726 โดยชาวอิตาเลียนชื่อ Bartolomeo Cristofori (1655-1731) ชื่อ Piano เป็นคำย่อที่ Cristofori ได้ตั้งขึ้นว่า Piano et Forte ซึ่งหมายถึง เบา และ ดัง เพราะเปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่มีความกว้างของ เสียง (Range) ถึง 88 เสียง สามารถทำเสียง เบาและดังได้โดยใช้ระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาที ซึ่งเครื่องดนตรี Keyboard อื่นๆ ทำไม่ได้ การที่เปียโนทำเสียงเบาและดังได้เช่นนั้น ทำให้ สามารถใช้บรรเลงเพลงซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้คนฟังได้อารมณ์สุนทรีย์ ประวัติความเป็นมาของเปียโนแบ่งได้เป็น 3 ยุค ซึ่งแต่ละยุคอาจจะมีการคาบเกี่ยวกันบ้าง ในเรื่องของระยะเวลาดังนี้
        - ยุคแรกอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1720- 1850 เรียกว่า Antique
        - ยุคที่สองอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1850- 1900 เรียกว่า Victorian
        - ยุคที่สามตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน เรียกว่า Modern
          1. ยุค Antique Piano (1720-1850) เปียโนที่ผลิตขึ้นมาในระยะแรกๆ เพื่อ ทดลองใช้นั้นได้มีการพัฒนาปรับปรุงแก้ไข เรื่องของกลไกต่างๆ รวมทั้ง รูปแบบ โครงสร้าง โดยใช้วัสดุหลายชนิด วัสดุบางอย่างมีอายุการ ใช้งานสั้นมาก ส่วนทรงหรือรูปแบบบางอย่าง ไม่เป็นที่นิยมจึงเลิกผลิตในเวลาต่อมา ยุคนี้ เป็นยุคแห่งการทดลอง เพื่อจะค้นหาวิธีการ ผลิตหรือสร้างเปียโนให้ดีมีคุณภาพ และเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานต่อไป
          2. ยุค Victorian Piano (ประมาณปี 1850) เปียโนที่ผลิตขึ้นส่วนมากมีคุณภาพค่อน ข้างดี มีมาตรฐานมากขึ้น มีการทดลองใช้วัสดุที่ คงทนถาวรจนแน่ใจว่าเหมาะสมกับชิ้นส่วน ต่างๆ มากขึ้น ในยุคนี้เปียโนผลิตออกมา 3 ชนิดคือ
              2.1 Upright Piano คือ เปียโนที่มีรูป ทรงลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมทรงสูง สาย และ Soundboard จะอยู่ในแนวตั้งกับพื้น
              2.2 Square Grand Piano คือ เปียโนที่ มีรูปทรงลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า สายและ Keyboard จะอยู่ในทิศทางเดียวกัน แต่ Keyboard จะอยู่ต่ำกว่าสาย อย่างไรก็ตามทั้ง สายและ Keyboard จะวางอยู่ในตำแหน่งที่ ขนานกับพื้น ปัจจุบันเปียโนชนิดนี้ไม่ผลิตออก จำหน่ายแล้ว
              2.3 Grand Piano คือ เปียโนที่มีรูปทรง ลักษณะสวยงาม มีส่วนที่โค้งเว้าและส่วนตรง ประกอบกับลวดลายแกะสลักในส่วนที่วางโน้ต ขาทั้งสาม และส่วนที่เป็น Pedals สำหรับสาย จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ผลิตเสียง กลาง (Middle Section) และส่วนที่ผลิตเสียง สูง (Treble Section) จะวางเป็นมุมตั้งแต่ 90- 80-70 และ 60 องศาตามลำดับ (ทวนเข็ม นาฬิกา) จากโน้ตสูงสุดลงไปหาโน้ตกลางๆ ของเปียโน ส่วนสายที่ผลิตเสียงต่ำ (Bass Section) จะวางเป็นมุม 80-70-60 องศาตาม ลำดับ (ตามเข็มนาฬิกา) จากโน้ตต่ำสุดขึ้นไป ยังโน้ตกลางๆ ของเปียโน ดังนั้นสายทั้งสอง ส่วนนี้จะวางในตำแหน่งแนวองศาเอียง เข้าหากัน ทำเกิดรูปทรงรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมีผล ในการประหยัดพื้นที่และดูสวยงามมากขึ้น สำหรับกลุ่มสายที่ผลิตเสียงต่ำ (Bass Section) จะวางอยู่เหนือกลุ่มสาย Middle Section ใน บางส่วน ทั้งสาย (Strings) และ Keyboard จะวางในแนวระนาบขนานกับพื้น เปียโนที่ผลิต ในยุค Victorian ทั้ง 3 ชนิดนี้จะเป็นเปียโนที่มี คุณภาพค่อนข้างดีเกือบทั้งสิ้น
          3. ยุค Modern (1900 จนถึงปัจจุบัน) เปียโนที่ผลิตหรือสร้างขึ้นในยุคใหม่นี้ได้มี การเลียนแบบการผลิตในยุค Victorian มา เกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนสัด รูปทรง โครงสร้าง หรือแม้แต่ชิ้นส่วนภายในของเปียโน ยกเว้นลวดลายหรือการแกะสลักภายนอก และ วัสดุที่ใช้ผลิตเท่านั้นที่จะไม่เหมือนกับยุค Victorian จริงๆ เพราะวิทยาการสมัยใหม่ เจริญก้าวหน้าอย่างมาก มีการทดลองค้นคว้า และคำนวณตามแนวทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเสียงจะใช้วัสดุที่คงทน มีรูป แบบและขนาดที่มาตรฐาน โครงสร้างที่แน่นอน ลดความฟุ่มเฟือยหรูหรา เปลี่ยนแบบเป็นเรียบ ง่าย มีการเขียนแบบ คำนวณสัดส่วนที่ชัดเจน แน่นอน เปียโนแต่ละยี่ห้อจะมีวิศวกรออกแบบ โดยเฉพาะ ดังนั้นแต่ละยี่ห้อจะมีการแข่งขันกัน ในเรื่องของแบบและรูปทรง หรือการใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างกันนั้นน่าจะอยู่ที่ขนาด ความยาว ความกว้าง ความสูง ความหนา และการใช้วัสดุ เป็นส่วนประกอบเท่านั้น เปียโนในยุค Modern นี้ยังสามารถแบ่งได้ชัดเจนเป็น 2 ชนิดคือ
              3.1 Grand Piano เป็นเปียโนที่มี ตำแหน่งของ Soundboard สาย และ Key วางในแนวระนาบขนานกับพื้น มีขนาดและชื่อ เรียกแตกต่างกันออกไปดังนี้ ขนาด 5 ฟุต 8 นิ้ว หรือ 173 เซนติเมตร หรือ เล็กกว่านี้ เรียกว่า Baby Grand ขนาด 5 ฟุต 10 นิ้ว หรือ 178 เซนติเมตร เรียกว่า Living Room Grand ขนาด 6 ฟุต หรือ 183 เซนติเมตร เรียก ว่า Professional Grand ขนาด 6 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 193 เซนติเมตร เรียกว่า Drawing Room Grand ขนาด 5 ฟุต 8 นิ้ว ถึง 6 ฟุต 10 นิ้ว หรือ 203 - 208 เซนติเมตร เรียกว่า Parlour, Artist, Salon or Music Room Grand ขนาด 7 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 224 เซนติเมตร เรียกว่า Half Concert or Semi Concert Grand ขนาด 8 ฟุต 11 นิ้ว หรือ 272 เซนติเมตร หรือ ใหญ่กว่า Concert or Orchestral Concert Grand
              3.2 Vertical Grand Pianos เป็นเปียโน ที่ตำแหน่งของ Sound-board สาย วางในแนว ตั้งกับพื้น มีขนาดและชื่อเรียกตามลักษณะ ต่างๆ กำหนดเอาความสูงของเปียโนเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
                    3.2.1 Upright Pianos กำหนดเอา บริเวณ Action (อยู่ภายใน) ตั้งอยู่เหนือ Key-board โดยมีระยะความสูงจาก Keyboard โดยมีชิ้นส่วนที่เรียกว่า Stickers เป็น ตัวเชื่อมระหว่าง Key-board กับ Action ชิ้น ส่วนที่เรียกว่า Stickers นี้จะทำให้ Action อยู่ สูงกว่าปกติ ทำให้รูปทรงของเปียโนนี้สูง ดังนั้น สายของเปียโนชนิดนี้จะยาวกว่าชนิดอื่น Sound-board จะใหญ่และสูงตามไปด้วย เปียโน ชนิดนี้สามารถผลิตเสียงที่ดี ดังมากกว่าเปียโน ชนิดอื่นๆ
                    3.2.2 Console Pianos หรือบางที่เรียก ว่า Studio Upright เป็นเปียโนที่มีความสูง ขนาดกลาง สังเกตจาก Action จะพบว่าไม่มี Stickers เป็นตัวเชื่อมระหว่าง Key-board กับ Action จะมีเพียง Captain Screw แทน จึง ทำให้ Action วางติดอยู่กับ Key-board เท่านั้น ดังนั้นส่วนที่เป็นสาย หรือ Soundboard จะไม่สูงเกินไป การผลิตเสียงจึงไม่ดัง มากเท่ากับ Upright Pianos
                    3.2.3 Spinet Pianos เป็นเปียโนที่มี ความสูงน้อยที่สุดในบรรดา Vertical Pianos ทั้งหมด หากสังเกต Action จะพบว่า นอกจาก ไม่มี Stickers แล้ว Action จะอยู่ต่ำกว่า fKey-board บริษัทบางแห่งสามารถจะผลิต ส่วนที่เป็น Key-board ให้มีส่วนยื่นยาวและ ห้อยลงไปรองรับส่วนที่เรียกว่า Captain Screw ใต้ Action และมีบางบริษัทผลิต Stickers เหมือนกันแต่ให้ติดอยู่ด้านหลังของ Action และอ้อมกลับมาด้านหน้าอีกครั้งเพื่อ จะให้ต่อกับ Key-board ได้ ทำให้เกิดความยุ่ง ยากมากในการซ่อมแซม Action ดังนั้นทั้งสาย และ Sound-board จึงจำเป็นต้องสั้นมากที่สุด เพราะเปียโนมีส่วนสูงน้อยดังกล่าวแล้ว การ ผลิตเสียงจึงมีความกังวานน้อยตามไปด้วย
          อาจสรุปได้ว่าเปียโนในสมัยใหม่แบ่งออก เป็น 2 ชนิด คือ Grand Piano และ Vertical Grand Piano โดยที่ Vertical Grand Piano ยังสามารถแบ่งออกตามลักษณะได้ 3 ลักษณะ คือ Upright, Console และ Spinet มีการ เรียกชื่อเปียโนหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งชื่อเหล่านั้น จะบ่งบอกลักษณะของขนาด หรือไม้ที่ใช้ทำเปีย โน และการออกแบบตัวถังเปียโนมีหลาย ลักษณะเช่นเดียวกัน เช่น Spinet, Console, Upright, Baby Grand, Half Concert Grand ฯลฯ ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย มักจะ ตั้งชื่อเปียโนที่สร้างขึ้นอย่างสวยหรู โดยตั้งชื่อ ให้เกี่ยวข้องกับเปียโนชนิดที่ดีๆ ซึ่งอาจจะทำให้ ผู้คนที่พบเห็นเข้าใจผิดได้อย่างมาก เช่น คน ส่วนมากรู้ว่า Grand Piano ส่วนมากเป็น เครื่องดนตรีที่ดีกว่า Upright Piano อย่าง แน่นอน ดังนั้นผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายมัก จะตั้งชื่อ Vertical Grand Piano ที่ผลิตขึ้นว่า Upright Grand, Studio Grand, Inverted Grand ซึ่งการตั้งชื่อแบบนั้นจะทำให้คนจำนวน มากเกิดสับสนและเข้าใจผิดคิดว่า Piano เหล่า นั้นมีคุณภาพดีเท่ากับ Grand Piano ซึ่งเมื่อมี การทดสอบกันจริงๆ แล้วปรากฏว่าไม่ได้เป็น ความจริงอย่างที่ได้โฆษณาไว้เลย แต่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเหมาะสมตามลักษณะของตัว เปียโนเอง

ประวัติกีตาร์เบส



Image result for ประวัติเบส




Bass Guitar 
      ประวัติ ของเบสกีตาร์ คำว่า Bassline เมื่อย้อนกลับไปเมื่อราว 100 ปีที่แล้ว เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรี โดยเริ่มได้ยิน เช่นในบทเพลงของ J.S. Bach ระหว่างปี 1685-1750 ซึ่ง bassline มีความสำคัญเฉกเช่นเดียวกับในส่วนของ soprano , alto , tenor เลยที่เดียว โดยในดนตรีคลาสสิก และ ออเครสตร้า เสียงเบสจะถูกกำหนดขึ้นโดยเครื่องดนตรีที่มีชื่อว่า upright bass หรือ bass viola ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีตระผมลเบสรุ่นแรกในโลก


ต่อมา เมื่อเริ่มมีดนตรีของคนแอฟริกัน คือ Ragtime ( ดนตรีแนวเต้นรำของชาวแอฟริกัน) และ New Orleans Jazz โดยมีอุปกรณ์เสียงต่ำที่เล่นจาก brass bass และ tuba เนื่องจากเป็นการเล่นโดยใช้ลมหายใจในการเป่า ที่ใช้ tuba ในการเล่นเป็นจังหวะ 2 beat ใน 1 bar และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเพลง jazz และเพลงเต้นรำ

เมื่อเพลง jazz มีการพัฒนาและเกิดการวิวัฒนาการขึ้นเป็นจังหวะ swing ในปี 1935 การแต่งและการเรียบเรียงดนตรีจึงเกิดมีความซับซ้อนและยุ่งยากตามมา แต่ในขณะนั้น ได้มีในงานดนตรีที่มีชื่อเสียงในวงการเพลง jazz เช่น Duke Ellington , Count Basie and Benny Goodman และจังหวะแบบ 4 beat ใน 1 bar เริ่มเป็นที่แพร่หลายและนำไปใช้กันมากขึ้น ตั้งแต่ที่ brass bass ไม่สามารถที่จะเล่นในจังหวะนี้ได้ Acoustic upright bass จึงได้เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ขึ้นมาแทนที่ brass bass อย่างไรก็ตาม Acoustic upright bass ก็มีข้อจำกัดของมันเองอยู่เหมือนกัน ในเรื่อง ของลำตัวที่ค่อนข้างใหญ่พกพายาก และมีน้ำเสียงที่ไม่สามารถดังดีพอและเหมาะสมในการเล่นร่วมกับวงดนตรีประเภท Big band ที่มีเครื่องดนตรีหลากหลายชิ้น เช่น brass 7 ตัว ,เปียโน ,กีต้าร์ กลอง สิ่งนี้จึงมีการเกิดปัญหาต่อในหมู่คนเล่นเบส

จ   นต่อ มาจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์ เบสไฟฟ้าขึ้นมาตัวแรกของโลก เบสไฟฟ้าตัวแรกของโลก ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาโดยClarence Leo Fender ในปี 1951 จากบริษัท Fender Musical Intrumental Company (บริษัทเดียวกับที่ผลิตกีตาร์Fender) ร่วมกันผลิตเบสที่มีชื่อรุ่นว่า Precision bass โดย Leo Fender ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการแก้ไขปัญหาของเบสรุ่นเก่าที่มีปัญหาในเรื่องของ เสียงและขนาดที่ใหญ่ของ Acoustic upright bass ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อรุ่นว่า Precision bass เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ที่แปลว่า "เบสที่มีความกระชับ " โดยมีการใช้เฟร็ทติดลงบน Fingerboard และ แก้ไขในเรื่องของน้ำเสียงให้ดีขึ้น


Leo Fender กล่าวว่า "พวกเราต้องให้ความเป็นอิสระแก่มือเบสจาก Acoustic upright bass''

การผลิตเบสจึงเป็นการเกิดอุตสาหกรรมการผลิตเบสขึ้นเป็นครั้งแรก โดยความร่วมมือกับ George Fullerton
Precision Bass รุ่นนี้มีการสร้างเฟรทที่ลำคอ มีลักษณะเป็น slab-bodied และ มี 34" scale ต่อมาเบสรุ่นนี้จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีระดับโลก ในทุก ๆ แขนงทางดนตรี เช่น Monk Montgomery ,Shifti Henri ,Dave Myers


วง ของ Vibist Lionel Hampton นับเป็นรุ่นแรกที่นำ P-Bass ไปใช้ในการแสดง โดยมือเบสของเขา คือ Roy Johnsonและเบสตัวนี้มีเสียงที่ออกมาได้อย่างน่าทึ่งมาก จากคำวิจารณ์ของ Leonard Feather ซึ่งได้เขียนในนิตยสาร Down Beatเมื่อ 30 กรกฎาคม 1952 หลังจาก Roy Johnson ออกจากวงของ Hampton

Monk Montgomery จึงเป็นบุคคลแรกที่สามารถสร้างชื่อเสียงขึ้นจากเบสตัวนี้ แต่เขาก็ยังคงใช้ upright bass ในการเล่นควบคู่กันไปในวงของเขา กับมือกีตาร์คือ Wes Montgomery (มือกีตาร์ฝีมือดีแห่งวงการ) ซึ่งเป็นน้องชายเขา


นอก จากนี้ นักดนตรี Blues ก็นำเอาเบสรุ่นนี้ไปใช้ในบทเพลงเช่นเดียวกัน โดยในปี 1958 Dave Myers ได้นำ Precision Bass ไปใช้ในการบันทึกเสียงเบส ที่สร้างความสำเร็จให้แก่นักดนตรี Blues สมัยนั้นอย่างมากมาย โดย เขาได้พูดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1998 ว่า "ผมสร้างความประสบความสำเร็จให้กับ Fender Bass.."

    ปัจจุบัน เบสได้กลายเป็นเครื่องดนตรีหลักๆ ในการเล่นดนตรี  และมีต้าเครื่องดนตรี(กีต้าร์เบส)ให้เลือกหลายชนิด  เบสทั้วไป จะมี 4 สาย แต่ปัจจุบันได้พํฒนา มาเป็นแบบ 5 สายเพื่อเพิ่มเสียงให้มี เสียงต่ำลงอีก ทำให้เกิดความไพเราะมากขึ้น แต่สวนมากจะใช้กันวงที่เป็นวง rock  การพัฒนากีต้าเบสได้เปลี่ยไปเรื่อยๆ จนเบสได้ มีสายเพิ่มมาเป็น 6 สายแล้ว และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย เป็น 7-8-9 ......สาย

ประวัติความเป็นมาของกลองชุด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกลองชุด

            กลองชุดเป็นชื่อเรียกภาษาไทย  มีความหมายถึง  กลองหลายใบ ภาษาอังกฤษ
ใช้ Team Drum  หรือ Jass Drum  ทั้งสองชื่อมีความหมายเหมือนกัน  คือ  การบรรเลงกลอง
ครั้งละหลายใบ  คำว่า  “แจ๊ส (Jass)  หมายถึง  ดนตรีแจ๊ส  ซึ่งใช้กลองชุดร่วมบรรเลง  จึงเรียกว่า  Jass Drum  และยังมีชื่อเรียกกลองชุดเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Dance Drumming  หมายถึงกลองชุดใช้บรรเลงจังหวะเต้นรำ
            กลองชุดประกอบด้วย กลองลักษณะต่างๆหลายใบ  และฉาบหลายอันมารวมกัน  โดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว  กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่  แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส และวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่  วงคอมโบ้ (Combo)  วงสตริงคอมโบ้ (String Combo)  ฯลฯ
            กลอง  จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในจำพวกเครื่องดนตรีทั้งหมด  ในอดีตมนุษย์
ขึงหนังสัตว์บนรูกลวงของท่อนไม้ และตีหนังสัตว์ด้วยนิ้วและมือ  จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่า คนตีกลองพื้นเมืองจะตีกลองเป็นจังหวะ สำหรับการเต้นรำระหว่างเผ่า  แต่ปัจจุบันพบว่า การบรรเลงกลองชุดจะเด่นที่สุดในส่วนของวงดนตรี  สำหรับการเต้นรำ  คนตีกลองพยายามปรับปรุงวิธีการ
บรรเลง  โดยบรรเลงตามจังหวะที่ได้ยินแล้วนำมาปรับปรุงโดยการคิดค้นระบบใหม่ขึ้น  ซึ่งนับว่าเป็นระบบที่ได้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก  โดยการบันทึกอัตราส่วนของจังหวะกลองในบทเพลง  การบันทึก
บทเพลงนั้นประกอบด้วย ทำนองเพลง การประสานเสียงและจังหวะ  ทำให้ดนตรีมีการประสานเสียงกลมกลืน  เพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น  การริเริ่มพัฒนากลองชุดเป็นครั้งแรก  โดยเริ่มต้นจากบทเพลงจังหวะวอลซ์ (Waltz)
            ในช่วง ค.ศ. 1890 ถึง ค.ศ. 1910 นักตีกลองชุดเริ่มแยกออกจากแบบดั้งเดิม  พยายามที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระของดนตรี แทนแบบเก่าที่มีแบบแผนบังคับ ให้ปฏิบัติตามการแสดงถึงความก้าวหน้าของนักตีกลองชุดคือ  จะเติมความสนุกสนานลงในช่วงปลายประโยคเพลง หรือต้นประโยคเพลงแล้วจึงบรรเลงตามบทเพลงที่กำหนด  ซึ่งเป็นเพียงการบรรเลงให้ถูกต้องตามจังหวะเพลงเท่านั้น  การแสดงความก้าวหน้านี้เป็นการคิดค้นเพื่อการสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจภายในโดยตรงของนักตีกลองชุด
            ปี ค.ศ. 1910 ถึง ค.ศ. 1920 จังหวะ แร็กไทม์ (Ragtime)  ได้รับความนิยมมากเพราะเป็นจังหวะใหม่และน่าตื่นเต้น  ลักษณะจังหวะแร็กไทม์ เป็นจังหวะเร็ว  และรวบรัดชวนให้เต้นรำ
สนุกสนาน เป็นที่ชื่นชอบของชนชาวผิวดำ  แต่นักตีกลองส่วนใหญ่  โดยเฉพาะคนรุ่นเก่าปฏิเสธ
ของใหม่ โดยตระหนักถึงรูปแบบจังหวะของดนตรีอิสระ  และเรียกพวกนักตีกลองชุดจังหวะ
แร็กไทม์ว่า  “ของปลอม”  เพราะบรรดานักตีกลองชุดรุ่นใหม่บรรเลงโดยการใช้ความจำและบรรเลงอย่างใช้อิสระโดยไม่ใช้โน้ตเพลง  ถึงแม้ว่าจะเป็นการบรรเลงโดยปราศจากตัวโน้ต แต่ผู้บรรเลงสามารถอ่านและเข้าใจอารมณ์ของดนตรีได้เป็นอย่างดี  ที่สำคัญก็คือ  สามารถบรรเลงได้อย่าง
ดีเยี่ยม
            ต้นศตวรรษที่ 20 ปี ค.ศ. 1920  ดนตรีแจ็สเริ่มได้รับความนิยมอย่างช้าๆ บรรดา
นักตีกลองชุดรุ่นเก่าที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงการบรรเลงจำต้องยอมพ่ายแพ้แก่นักตีกลองชุดรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง  จังหวะการบรรเลงค่อยๆเริ่มเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย  ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและรสนิยมของผู้ฟัง  แต่อย่างไรก็ตาม นักตีกลองจะต้องทราบเกี่ยวกับการรัวการทำเสียงให้
สั่นสะเทือน และความรู้เกี่ยวกับหนังกลองหรือแผ่นพลาสติกที่จะทำให้ขึงตึงพอดีไม่หย่อนหรือตึงเกินไป นักตีกลองที่ดีและเก่งที่มีความรู้รอบตัวมักจะหางานได้ง่าย แต่ผู้ที่มีความรู้อย่างดีเรื่อง
เครื่องเคาะตีทั้งหมดก็จะได้งานที่ดีกว่า
            ต่อมาในปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1935 เป็นยุคของซิมโพนิค-แจ๊ส (Symphonic- Jass)  จังหวะของดนตรีมีทั้งจังหวะเร็วและช้า  การบรรเลงจังหวะช้านั้น เริ่มมีการใช้แปรงลวด (Wirebrushes)  หรือภาษานักตีกลองเรียกว่า “แซ่”  นักตีกลองต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแปรงลวด ถึงวิธีการใช้และวิธีการบรรเลงและนักตีกลองต้องเป็นผู้ที่ตั้งจังหวะในบทเพลงพร้อมทั้งยึดจังหวะให้มั่นคง เครื่องดนตรีอื่นๆจะปฏิบัติตามจังหวะกลองชุด
            ปี ค.ศ. 1935  จังหวะแบบใหม่ที่มีชื่อว่า สวิง (Swing)  เริ่มแพร่หลายช่วงตอนต้นของปี บทเพลงทุกเพลงต้องมีกลองชุดเข้าร่วมบรรเลงด้วยเสมอ  นับเป็นครั้งแรกที่นักตีกลองชุดเข้าถึงจุดสุดยอด ซึ่งมีความสำคัญมาก จัดอยู่ในระดับสูงสุด  เพราะไม่มีงานไหนจะสมบูรณ์แบบถ้าขาดกลองชุดและการบรรเลงเดี่ยว (Solo)  ถึงขนาดนักตีกลองชุดที่เก่งๆมีชื่อเสียงนำชื่อของตนเองมาตั้งเป็นชื่อของวงดนตรี  ในยุคนี้จึงถือว่าเป็นยุคของนักตีกลองชุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
            จากประวัติของกลองชุดที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ารูปแบบการบรรเลงกลองชุดได้พัฒนาขึ้นตามลำดับมีการเปลี่ยนแปลงจังหวะตามยุคตามสมัย สำหรับนักตีกลองชุดผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคงยึดถือตามแบบฉบับเดิมก็จะไม่ได้รับความนิยม  การที่ไม่ปรับปรุงพัฒนาตนเองนั้นทำให้อยู่ในสังคมของดนตรีไม่ได้  เพราะจะถูกคนที่พัฒนาตนเองหรือคนยุคใหม่แย่งงานไปหมด นักตีกลองที่ดีและเก่งจะประสบความสำเร็จได้อย่างมีพื้นฐานที่ดีและมีหลักการอย่างดีอีกด้วย
            ช่วงระยะสงครามโลกครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1940 เป็นระยะที่มีความต้องการด้านดนตรีสวิงมาก  นักตีกลองชุดมีงานมากเพราะทหารต้องการฟังเพลงหลังจากออกรบ  รัฐบาลได้ส่งวงดนตรีไปปลอบขวัญทหาร  ซึ่งเป็นการช่วยเหลือให้ทหารมีขวัญและกำลังใจสามารถสู้รบจนชนะข้าศึก  และสงคราม  ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยในกิจกรรมครั้งนี้
            หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง  รสนิยมของบุคคลทั่วไปเริ่มเปลี่ยนแปลง
ดนตรีแบบคอมโบ้ (Combo)  เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  นักตีกลองเริ่มเบื่อหน่ายการบรรเลงจังหวะเก่าๆ มีการริเริ่มจังหวะใหม่ๆ โดยใช้กลองใหญ่ช่วยเน้นจังหวะ เรียกว่า บ๊อพ (Bop)  หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ยุคของการบรรเลงด้วยนิ้วมือ (Finger Drumming Techinque)  คือการบรรเลงด้วยเทคนิคที่ใช้นิ้วมือปฏิบัติทั้งสองข้าง  โดยใช้ไม้ตีกลองมือขวา ตีฉาบด้านขวามือ ซึ่งเป็นการรักษาจังหวะให้มั่นคงแน่นอน  แล้วเปลี่ยนมือขวามาตีไฮแฮท (Hi Hat)  อยู่ด้านซ้ายมืออย่าง
ต่อเนื่อง เท้าขวาเหยียบที่กระเดื่องกลองใหญ่เน้นเสียงหนักแน่นมั่นคง  มือซ้ายตีกลองเล็กและฉาบอย่างอิสระโดยการเน้นเสียง เช่น การตีเน้นเสียงที่ริมขอบกลอง หรือ การตีหนักๆที่กลางกลอง ผู้ที่มีเทคนิคการบรรเลงด้วยนิ้วมือได้ดี คือ โจ โจนส์ (JO JONES) โจนส์ใช้มือขวาตีที่หัวฉาบมือซ้ายตีขอบฉาบอย่างชำนาญและเชี่ยวชาญ
            จังหวะต่างๆที่นิยมบรรเลง  ตั้งแต่อดีตเรื่อยมามีจังหวะมากมายหลายรูปแบบ บางจังหวะ
ก็หายสาบสูญไป  เพราะไม่ได้รับความนิยม  แต่ก็มีจังหวะใหม่ๆเข้ามาแทนที่ส่วนประกอบของกลองชุด            กลองชุดประกอบด้วยกลองลักษณะต่างๆ หลายใบและฉาบหลายอันมารวมกันโดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว  กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่  แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊สและวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่วง คอมโบ้  วงสตริงคอมโบ้  ฯลฯ  กลองที่ใช้ร่วมบรรเลงกับกลองชุดมีดังนี้
            1.  กลองใหญ่ (Bass Drum)
            กลองใหญ่  มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับกลองใหญ่ที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์สากลแต่ขนาดแตกต่างกันคือ  ขนาดกลองใหญ่ของกลองชุดมีขนาดที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ขนาด 14 x 20 นิ้ว หรือ  14 x 22 นิ้ว  มีอุปกรณ์เหมือนกันกับกลองใหญ่วงดุริยางค์ทุกประการ เวลาบรรเลงไม่ต้องใช้ขอหยั่งรองรับ เพราะมีขาหยั่งติดมากับตัวกลอง  เพียงแต่ดึงขอหยั่งออกทั้งสองข้างจะทำให้กลองไม่เคลื่อนที่  เป็นการยึดตัวกลองใหญ่ให้ติดอยู่กับพื้นกลองใหญ่ไม่ใช้ไม้ถือสำหรับตี ใช้กระเดื่อง (Pedal)  ติดแท่งเหล็กกลมๆ ปลายหุ้มด้วยสักหลาดความยาวประมาณ 10 นิ้ว  สำหรับเท้าข้างขวาเหยียบลงไปบนกระเดื่อง ปลายกระเดื่องส่วนบนจะทำหน้าที่แทนมือ
            2. กลองเล็ก (Snare Drum)
            กลองเล็ก  เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกลองชุดรูปร่างลักษณะกลองเล็กที่ใช้บรรเลงร่วมกับกลองชุด มีลักษณะเหมือนกลองเล็กที่ใช้บรรเลงวงดุริยางค์วงใหญ่ทุกประการ  หรือเป็นกลองเล็กอย่างเดียวกัน  สามารถนำไปใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีโดยทั่วไปได้กลองเล็กเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดในจำพวกเครื่องเคาะตีทั้งหลายเพราะการบรรเลงตามบทเพลงของกลองเล็กจะทำหน้าที่บรรเลงจังหวะที่ขัดกับกลองใหญ่  โดยกลองใหญ่จะบรรเลงตามจังหวะหนัก และเบา  กลองเล็กจะบรรเลงจังหวะขืนหรือจังหวะขัด มีลักษณะเหมือนกับหยอกล้อกัน  และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ฟังตื่นตัว มีอารมณ์ร่วมกับผู้บรรเลง เกือบจะทุกบทเพลงที่เปิดโอกาสให้กลองเล็กแสดงความสนุก คึกคัก และเป็นการเรียกร้องให้เครื่องดนตรีอื่นๆร่วมสนุกสนานด้วยนั่นคือ การบรรเลงกลองเล็กตอนปลายประโยคของบทเพลง ที่ภาษานักตีกลองเรียกว่า “ห้องส่ง” หรือ “บทส่ง” (Fill)  ขนาดกลองเล็กที่นิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 x 14 นิ้ว
            3.  ฉาบ (Cymbals)
            ฉาบ  เป็นส่วนประกอบอีกชิ้นหนึ่งของกลองชุด  รูปร่างลักษณะเหมือนกับฉาบที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์  โดยทั่วไปนิยมใช้ฉาบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างขวามือ  และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-18 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างซ้ายมือ  ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่มีเชือกหนังสำหรับมือถือ แต่จะมีขาหยั่งรองรับทั้งสองใบ  เวลาบรรเลงใช้มือขวาตีฉาบด้านขวามือเป็นหลัก เพราะมีเสียงก้องกังวานกว่า  บางครั้งอาจสลับเปลี่ยนมาตีด้านซ้ายมือบ้างเป็นบางครั้ง
            4.  ไฮแฮท (Hi Hat)
            ไฮแฮท  คือ ฉาบสองใบเหมือนกับฉาบในวงดุริยางค์  แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  14-15 นิ้ว  ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่ใช้เชือกหนังร้อยสำหรับถือ  เพราะมีขาตั้งรองรับ ใบที่หนึ่งใส่ลงบนขาตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านล่าง จะมีแผ่นโลหะและสักหลาดรองรับ  อีกใบหนึ่งใส่ลงบนขอตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านบน มีที่ไขติดอยู่กับแกนของขาตั้ง  โดยกะระยะให้ห่างกันพอประมาณ  เพื่อไม่ให้ฉาบทั้งสองใบชิดติดกัน ช่วงล่างสุดมีกระเดื่องเหมือนกับกลองใหญ่สำหรับเหยียบให้ฉาบทั้งคู่กระทบกัน  ไฮแฮทมีหน้าที่คอยขัดจังหวะหรือช่วยหนุนกลองเล็ก เน้นจังหวะขัดให้กระชับยิ่งขึ้น
            5.  ทอม ทอม (Tom Tom)
            ทอม ทอม  คือ กลองขนาดเล็กสองใบมีรูปร่างเหมือนกลองเล็ก แต่มีขนาดสูงกว่า ไม่ติดเส้นลวด ทอม ทอม ทั้งสองใบมีขนาดแตกต่างกัน ใบหนึ่งจะติดตั้งทางด้านซ้ายมือ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอีกใบหนึ่ง ซึ่งติดตั้งด้านขวามือ  โดยทั่วไปนิยมใช้ทอม ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 x 13 นิ้วและขนาด 14 x 14 นิ้ว ทั้งสองใบจะมีรูด้านข้างสำหรับใส่แกนโลหะเพื่อติดตั้งบนกลองใหญ่ ระดับเสียงทอม ทอม ด้านซ้ายมือมีระดับเสียงสูงกว่าด้านขวามือ ทอม ทอม มีหน้าที่สร้างความสนุกคึกคัก โดยจะบรรเลงในบทส่ง หรือการเดี่ยวกลอง (Solo)  เพื่อสร้างความรู้สึก  การกระตุ้นให้เพลิดเพลินกับจังหวะ บทเพลงที่ใช้  ทอม ทอม บรรเลงมากที่สุด คือ เพลงประเภทลาติน
            6.  ฟลอร์ทอม (Floor Tom)
            ฟลอร์ทอม  มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “ทอมใหญ่” (Large Tom)  รูปร่างลักษณะเหมือนกับ ทอม ทอม ไม่ติดเส้นลวด ขนาดของฟลอร์ทอม สูงกว่าทอม ทอม  มีขาติดตั้งกับตัวฟลอร์ทอม เวลาบรรเลงตั้งอยู่ด้านขวามือชิดกับกลองใหญ่ เสียงฟลอร์ทอมต่ำกว่าเสียงทอม ทอม  แต่เสียงสูงกว่าเสียงกลองใหญ่ ฟลอร์ทอม ทำหน้าที่อย่างเดียวกับ ทอม ทอม  โดยทั่วไปนิยมใช้ ฟลอร์ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง       16  x 16 นิ้ว 

ประวัติกีตาร์ไฟฟ้า






กีตาร์ไฟฟ้า (Electric Guitar) คือ กีตาร์ ที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ที่มักเรียกว่า ทำหน้าที่แปลงการสั่นของสายกีตาร์ให้ กลายเป็นสัญญาณอิเล็คทรอนิคส์ ส่งผ่านสายสัญญาณ (Cable) ไปยังเครื่องขยายสัญญาณ (แอมปลิฟายเออร์ และออกสู่ลำโพงในที่สุดกีตาร์ไฟฟ้ามีความแตกต่างจากกีต้าร์โปร่ง(Acoustic Guitar) และ กีต้าร์โปร่งไฟฟ้า (Acoustic Electric Guitar) ตรงที่ลำตัวของกีตาร์ไฟฟ้าโดยส่วนมากจะไม่มีโพรงเสียง หรืออาจเรียกว่า "ลำตัวตัน" (Solid Body) อย่างไรก็ดี กีตาร์ไฟฟ้าอาจหมายรวมถึง กีตาร์ที่มีโพรงเสียงบางประเภทที่มีการติดตั้ง Pick Up (Hollow Body Guitarซึ่งนิยมใช้เล่นในแนวดนตรีประเภทแจ๊ส หรือ บลูส์ ปัจจุบันนิยมนำสัญญาณเสียงที่ได้จาก กีตาร์ไฟฟ้ามาดัดแปลงผ่านอุปกรณ์ดัดแปลงสัญญาณ Guitar Effect ก่อนเข้าสู่เครื่องขยายสัญญาณ เพื่อให้ได้ ลักษณะเสียงที่มีความแตกต่างหลากหลายมากขึ้นจากกีตาร์ตัวเดียวกีตาร์ไฟฟ้าเป็นที่นิยมแพร่หลาย และใช้เล่น กันในแทบทุกประเภทดนตรี เนื่องจากความสะดวกในการใช้งานและการปรับแต่งเสียงกีตาร์ไฟฟ้าผลิตออกมา ในหลายระดับคุณภาพและราคา ยี่ห้อที่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางได้แก่ Gibson และ Fender

หากแบ่งตามโครงสร้างของลำตัวกีต้าร์ (Body)อาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ


  • 1)กีต้าร์ตัวตัน (Solid Body)

หมายถึง กีต้าร์ไฟฟ้า ปกติที่ลำตัวมีลักษณะตัน ไม่มีการเจาะช่องในลำตัวกีต้าร์เหมือนอย่างกีตาร์โปร่ง หรือ อะคูสติกกีตาร์ แต่บริเวณลำตัวจะมีตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up) ขณะที่ดีด เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง (Amplifier)ต่อไป โดยทั่วไป ตัวรับสัญญาณจะมี 2 ประเภท คือ ตัวรับสัญญาณแบบแถวเดี่ยวที่เรียกว่า Single Coil และแบบแถวคู่ที่เรียกว่า Humbucker


  • 2)กีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง (Semi-Hallow Body)

เป็นกีต้าร์ไฟฟ้าที่มีลักษณะโครงสร้างส่วนกลางของลำตัวในแนวเดียวกับคอกีต้าร์ มีลักษณะตัน (แต่มีการเจาะช่องเพื่อใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up)เช่นเดียวกับกีต้าร์ตัวตัน) บริเวณส่วนข้างของกีต้าร์มีการเจาะช่อง (Sound Hole)เอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียงมากกว่ากีต้าร์ตัวตัน ซึ่งจะให้เสียงที่เป็นอคูสติกมากขึ้น นิยมใช้ในดนตรีแจ๊สหรือบลูส์ เป็นกีต้าร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อลดเสียงรบกวนที่เรียกว่าFeed back ซึ่งเกิดจากกีต้าร์ไฟฟ้าลำตัวโปร่ง (กล่าวคือ ยังมีเสียงรบกวนบ้างแต่น้อยลงกว่าเดิม)


  • 3)กีต้าร์ลำตัวโปร่ง (Hallow Body)

คือ กีต้าร์ไฟฟ้าที่มีการเจาะช่องเอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียง (Sound Hole) เช่นเดียวกับกีต้าร์โปร่งหรืออคูสติก และกีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง ปกติช่องดังกล่าวมักจะอยู่ด้านข้างของลำตัวกีต้าร์ เนื่องจากบริเวณกลางลำตัวจะมีการใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up)เช่นเดียวกันกับกีต้าร์ตัวตัน ซึ่งผลของการที่มีช่องกำทอนเสียง ทำให้ลักษณะของเนื้อเสียงที่ได้เป็นอคูสติกมากกว่า กีต้าร์ Semi-Hallow Body แต่หากขยายเสียงให้ดังมากจะก่อให้เกิดเสียงรบกวนที่เรียกว่า Feed back กีต้าร์ประเภทนี้มักจะนิยมใช้กับดนตรีแจ๊สหรือบลูส์เป็นส่วนใหญ่
ส่วนประกอบของกีตาร์ 
กีตาร์แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วนได้แก่


  • ส่วนของหัวกีตาร์

ส่วนหลัง
ส่วนหน้า

ส่วนไม่มี

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2558

แนะนำตัวเอง


ผมชื่อ นาย นรตรี เขตต์เขาเม็ง
เกิดวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2541
กรุงเทพมหนคร แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา
ถนนนิมิตรใหม่ วัดสุขใจ 14 บ้านเลขที่ 5 หมู่ 7
งานอดิเรก ฟังเพลง อ่านการ์ตูน ขายของ
ของที่ชอบ ของกินทุกอย่างบนโลกใบนี้